เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
ความถือตัว 9 นัย คือ
1. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่า เลิศกว่าเขา
2. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่า เสมอเขา
3. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่า ด้อยกว่าเขา
4. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่า เลิศกว่าเขา
5. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่า เสมอเขา
6. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่า ด้อยกว่าเขา
7. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่า เลิศกว่าเขา
8. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่า เสมอเขา
9. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่า ด้อยกว่าเขา
ความถือตัว 10 นัย คือ คนบางคนในโลกนี้
1. เกิดความถือตัวเพราะชาติ
2. เกิดความถือตัวเพราะโคตร
3. เกิดความถือตัวเพราะเป็นบุตรของผู้มีตระกูล
4. เกิดความถือตัวเพราะเป็นผู้มีรูปงาม
5. เกิดความถือตัวเพราะมีทรัพย์
6. เกิดความถือตัวเพราะการศึกษา
7. เกิดความถือตัวเพราะหน้าที่การงาน
8. เกิดความถือตัวเพราะมีหลักแห่งศิลปวิทยา
9. เกิดความถือตัวเพราะวิทยฐานะ
10. เกิดความถือตัวเพราะความคงแก่เรียน เกิดความถือตัวเพราะ
ปฏิภาณ หรือเกิดความถือตัวเพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว
ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน
ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเห็น
ปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความถือตัว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :353 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 7. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส
คำว่า ความลบหลู่ ได้แก่ ความลบหลู่ กิริยาที่ลบหลู่ ภาวะที่ลบหลู่
ความแข็งกระด้าง กรรมคือความแข็งกระด้าง นี้เรียกว่า ความลบหลู่
ความถือตัวและความลบหลู่ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้
ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่าทรงละความถือตัวและความ
ลบหลู่ รวมความว่า ทรงละความถือตัวและความลบหลู่ได้
คำว่า ณ บัดนี้ ในคำว่า อาตมภาพจักกล่าวถ้อยคำ ที่ประกอบด้วยการ
สรรเสริญ... ณ บัดนี้ เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์
เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ณ บัดนี้
เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ข้าพระองค์จักกล่าวถ้อยคำที่ประกอบด้วยการสรรเสริญ อธิบายว่า
อาตมภาพจักกล่าว คือ แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย
ประกาศถ้อยคำ คือ วาจา คำที่เป็นแนวทาง การเปล่งวาจาที่ประกอบ ประกอบ
พร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมด้วยการ
สรรเสริญ รวมความว่า ข้าพระองค์จักกล่าวถ้อยคำที่ประกอบด้วยการสรรเสริญ
ณ บัดนี้ ด้วยเหตุนั้น พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า
อาตมภาพจักกล่าวถ้อยคำ
ที่ประกอบด้วยการสรรเสริญพระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงละมลทินและโมหะได้แล้ว
ผู้ทรงละความถือตัวและความลบหลู่ได้ ณ บัดนี้
[104] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า)
ท่านพราหมณาจารย์ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงเป็นผู้กำจัดความมืด มีสมันตจักขุ
ทรงถึงที่สุดโลก ทรงล่วงภพได้ทั้งหมด
ไม่มีอาสวะ ทรงละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว
ทรงมีชื่อตามความจริง อาตมภาพได้เข้าเฝ้ามาแล้ว (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :354 }